วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นานาสาระ

ไวรัส
รายงานไวรัสและการบุกรุกรายสัปดาห์
ความแตกต่างระหว่าง Virus, Worm, Spyware, Trojan, Malware -:-
วิธีแก้ Generic Host Process for Win32 Services has encountered a problem ล่าสุด
แก้ ไวรัสWin32.Worm.Zimuse.A
นานาสาระ
สอนการ ทำ Internet Sharing ไปยังเครื่องอื่น *ICS
วิธีการลง apache php mysql phpmyadmin
ติดตั้ง Windows Server 2003 เป็น File Server
Rssคืออะไร
เทคโนโลยี HSDPA (High Speed Downlink Packet Access)
เอาคำสั่งที่จำเป็นทำเป็นเมนูคลิกขวาให้กับ My Computer
System Idle Process
https คืออะไร
Blue Screen of Death คัมภีร์แก้ปัญหาจอมรณะ (ภาค 2)
Google search
Bit torrent For Newbies
เทคนิค Windows ที่บางทีก็ลืม
Windows 7 หลุดให้โหลดบนเน็ตอีกแล้ว
“svchost.exe” คืออะไร
การใช้คำสั่ง Tracert
ทั่วๆไป
ทำให้sim3ไม่แก่
Kind of Metal
แผ่น DVD แต่ละแบบต่างกันอย่างไร
TIP computer ทั่วไป
20 สุดยอดวิธีแก้ปีญหากวนใจชาว Windows
ประวัติฮีโร่ในWarcraft III
คำสั่ง Error เวลา ต่อ internet
วงเฮฟวี่ ภาคภาษาไทย วงแรกแห่งกรุงสยาม

Proxy Server คืออะไร

Proxy Server คืออะไร

Proxy Server คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ แทนเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆ ที่ตั้งอยู่ในอินเตอร์เน็ต (เช่น Web Server , Mail-Server , FTP Server หรือ DNS Server เป็นต้น) เครื่องลูกข่ายเครื่องใดในระบบ LAN ที่ต้องการติดต่อหรือขอใช้บริการกับเซิร์ฟเวอร์ในอินเตอร์เน็ต ก็ไม่จำเป็นต้องติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์นั้นโดยตรงแต่ให้ไปติดต่อผ่าน Proxy Server แทน ดังนั้น Proxy Server จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือตัวแทนของเครื่องพีซีแต่ละเครื่องในระบบ LAN ในการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ในอินเตอร์เน็ตนั้นอีกต่อหนึ่ง ในทางกลับกัน ข้อมูลหรือบริการที่ตอบกลับมาจากเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นจะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ตัว Proxy Server ก่อน (อาจมีการทำสำเนาเก็บไว้ด้วยที่เรียกว่า Cache ) จากนั้นจึงจะคัดเลือกและส่งกลับไปให้เครื่องลูกข่ายที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้นๆ ดังนั้นหากคุณกำลังเล่นอินเตอร์เน็ตอยู่ที่เครื่องลูกข่ายเครื่องใดเครื่องหนึ่งในระบบ LAN คุณจะรู้สึกราวกับว่าเครื่องที่คุณใช้งานอยู่นั้นกำลังเชื่อมต่อกับอิเตอร์เน็ตโดยตรง (ซึ่งความจริงแล้วไม่)

ถ้าจะเปรียบเทียบแล้ว Proxy Server จะเหมือนกับตัวแทนจำหน่ายสินค้านั่นเองหากคุณจะชื้อสินค้าต่างประเทศชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องติดต่อกับผู้ผลิตสินค้านั้นโดยตรง แต่คุณสามารถติดต่อผ่านตัวแทนจำหน่ายในเมืองไทยได้ การติดต่อผ่านตัวแทนจำหน่าย คุณจะได้รับความสะดวกในการสั่งชื้อสินค้าและประหยัดเวลาในการจัดส่งสินค้าด้วย

ประเภทของ Proxy Server

Proxy Server แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ

1. Proxy Server แบบดั้งเดิม คือ Proxy Server ที่ใช้เทคนิคสมัยเก่าหรือสมัยที่เริ่มจะมีProxy Server ออกมาให้ใช้กัน ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผมได้อธิบายไว้ในคำนิยามของ Proxy Server ในหัวข้อก่อนหน้านี้ นั่นเอง ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Proxy Server ของบริษัทไมโครซอฟท์ (ทำงานบน Windows NT Server 4.0 ) , WinGate ของบริษัท Qbik หรือ Netscape Proxy Server ของบริษัท Netscape (ปัจจุบันไม่ค่อยมีคนใช้แล้ว) Proxy Server แบบนี้หากใช้ให้บริการประเภทการท่องเว็บหรือดาวน์โหลดไฟล์ผ่านโปรแกรมบราวเซอร์แล้ว มักจะมีการเก็บสำเนาข้อมูลหรือบริการต่างๆที่ได้รับมาจากการใช้บริการของเครื่องลูกข่ายต่างๆในช่วงก่อนหน้านี้ไว้ในฮาร์ดดิสก์ซึ่งเรียกว่าแคช (Cache ) ประโยชน์ของแคชก็คือช่วยลดภาระการทำงานของ Proxy Server ที่ต้องไปดึงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตตามคำร้องขอของเครื่องพีซีต่างๆโดยไม่จำเป็น กล่าวคือ หากเครื่องพีซีเครื่องใดเครื่องหนึ่งต้องการข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตแล้ว Proxy Server จะมาค้นดูใน Cache ก่อนหากพบว่ามีอยู่แล้วก็จะดึงข้อมูลนั้นส่งกลับไปให้เครื่องลูกข่ายนั้นได้ทันที ทำให้เครื่องลูกข่ายได้รับข้อมูลในเวลาที่เร็วขึ้น ดังนั้น Proxy Server จะไปดึงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการไม่มีใน Cache เท่านั้น วิธีดังกล่าวนี้ภาษาทางเทคนิคจะเรียกว่า “ เว็บแคชชิ่ง” (Web Caching )

2. Proxy Server แบบ NAT คือ Proxy Server สมัยใหม่ที่ใช้เทคนิคเรียกว่า NAT (Network Address Translation ) หรือที่เรียกว่า IP Masquerade ความจริงแล้ว Proxy Server แบบนี้ไม่ตรงกับคำจำกัดความที่ผมให้ไว้ในตอนแรกเท่าไรนัก แต่เพื่อความเข้าใจเชิงเปรียบเทียบจึงพออนุโลมให้เรียกว่า Proxy Server ได้ สิ่งที่ทำให้ Proxy Server แบบนี้มีพฤติกรรมไม่ตรงกับคำจำกัดความของ Proxy Server ก็คือหลักการทำงานของมันที่ใช้เทคนิคที่เรียกว่า NAT นั่นเอง (รายละเอียดจะอธิบายต่อไป) ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้คือโปรแกรม WinGate รุ่นใหม่ๆ (ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า ENS Plug – in เพิ่มเติม) หรือโปรแกรม ICS (Internet Connection Sharing ) ที่อยู่ในตัว Window รุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ Window 98 Se เป็นต้น









หลักการทำงานของ Proxy Server แบบดั้งเดิม

ภายในตัวของ Proxy Server แบบดั้งเดิมนั้นจะประกอบด้วยโปรแกรมหรือบริการย่อยๆ ที่ไว้รองรับการใช้งานจากเครื่องลูกข่ายประเภทต่างๆ อยู่ 3 ตัวคือ WWW Proxy , WinSock Proxy , SOCKS Proxy ซึ่งรายละเอียดของแต่ละบริการที่ดังนี้

WWW Proxy คือบริการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับ Web Server ต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้คุณสามารถที่จะใช้บริการท่องเว็บ หรือดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซท์ต่างๆ โปรแกรมในเครื่องลูกข่ายที่ใช้บริการนี้คือ โปรแกรมบราวเซอร์นั่นเอง บริการนี้จะทำงานคู่กับ เว็บแคชชิ่งด้วย

WinSock Proxy คือบริการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ในอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากในกรณีของ WWW Proxy เช่น บริการรับส่งอีเมล์ , Remote Login (Telnet) หรือ Chat (ICQ , Pirch) เป็นต้น โปรแกรมในเครื่องลูกข่ายที่ใช้บริการนี้ได้แก่ Outlook Express , Telnet , FTP , โปรแกรม Chat (ICQ หรือ Pirch) และโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้โปรโตคลอ WinSock ในกรณีติดต่อ ดังนั้นเครื่องลูกข่ายจะต้องเป็นเครื่องที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Windows และต้องติดตั้งโปรแกรมพิเศษเพิ่มเติมที่เรียกว่า WinSock Proxy Client เพื่อใช้ในการติดต่อกับบริการ WinSock Proxy ด้วย

SOCKS Proxy คือบริการที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กับ WinSock Proxy แต่จะให้บริการกับโปรแกรมในเครื่องลูกข่ายที่ใช้โปรโตคอล SOCKS ในการติดต่อ ซึ่งโดยมากมักจะเป็นเครื่องลูกข่ายที่ไม่ใช้ Windows เช่น ระบบปฏิบัติการ MacOS (แมคอินทอช) หรือ Unix (Linux) เป็นต้น

ตารางแสดงข้อแตกต่างของบริการทั้ง 3 ประเภท

.


WWW Proxy


WinSock Proxy


SOCKS Proxy

โปรโตคอลที่สนับสนุน


HTTP , FTP ,

Gopher , HTTP-S


ได้เกือบทุก

โปรโตคอลที่มี


ได้เกือบทุก

โปรโตคอนที่มี

ประเภทของ

เครื่องลูกข่าย


โปรแกรมราวเซอร์

ไม่จำกัดประเภทของ

เครื่องลูกข่าย


Windows


MacOS , Unix ,

Linux

การติดตั้งโปรแกรม

เพิ่มที่เครื่องลูกข่าย


ไม่ต้อง (บาวเซอร์

ทั่วไปรู้จักใช้ Prexy)


ต้อง


ต้อง

คุณสมบัติของ

เว็บแคชชิ่ง


มี


ไม่มี


ไม่มี

ที่เครื่องลูกข่ายจะต้องอาศัยโปรแกรมที่สนับสนุนการเชื่อมต่อผ่าน Proxy Server ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรมแกรมบราวเซอร์หรือโปรแกรม Windows Media Player จะที่คุณสมบัติในการเชื่อมต่อกับ Proxy Server โดยผ่านบริการ WWW Proxy ได้อยู่แล้ว คุณเพียงแต่ไปกำหนดค่า IP Address พร้อมด้วยหมายเลขพอร์ตใช้ในการเชื่อมต่อกับตัว Proxy Server ในแต่ละโปรแกรมก็ใช้งานได้แล้ว แต่หากคุณใช้โปรแกรมประเภทอื่นๆ ที่ไม่สนับสนุนการเชื่อมต่อผ่าน Proxy Server แล้วคุณจำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมที่เครื่องลูกข่ายที่ชื่อว่า WinSock Proxy Client เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกับบริการ WinSock Proxy แทน

สำหรับโปรแกรม WinSock Proxy Client นั้นโดยทั่วไปจะติดมากับชุดโปรแกรมของ Proxy Server อยู่แล้ว แต่มักจะสนับสนุนเฉพาะบน Windows เท่านั้น ถ้าคุณใช้เครื่องลูกข่ายที่เป็น MacOS หรือ Linux ก็ใช้ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องหันไปใช้การเชื่อมต่อผ่านบริการ SOCKS Proxy แทน อย่างไรก็ตามโปรแกรมบน Windows บางตัวก็มีความสามารถในการเชื่อมต่อผ่านบริการทั้ง 3 ประเภทได้ ตัวอย่างเช่นโปรแกรม ICQ 2000b เป็นต้น

Proxy Server แบบดั้งเดิมนี้มักถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติมอีก เช่น ระบบตรวจสอบและป้องกันไวรัสที่อาจติดมากับไฟล์หรือข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ระบบการห้ามเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซท์ที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ หรือระบบควบคุมการใช้งานของเครื่องลูกข่ายต่างๆ ด้วย

จุดอ่อนของ Proxy Server แบบดั้งเดิมคือเรื่องการติดตั้งและใช้งาน เนื่องจากต้องอาศัยการกำหนดค่า IP Address และหมายเลขพอร์ตของเครื่องแม่ข่ายในโปรแกรมบราวเซอร์ที่เครื่องลูกข่ายแต่ละเครื่อง หรือถ้าเป็นโปรแกรมอื่นๆ ก็ต้องติดตั้งโปรแกรม WinSock Proxy Client ที่เครื่องลูกข่ายทุกเครื่องดังนั้นหากมีการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยน Proxy Server ก็ต้องตามไปเปลี่ยนที่โปรแกรมทุกตัวในเครื่องลูกข่ายทุกเครื่องด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ Proxy Server แบบนี้ยังมักมีปัญหากับโปรแกรมแปลกๆ ใหม่ๆ บนอินเตอร์เน็ตด้วย เช่น โปรแกรมเกมที่เล่นผ่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องอาศัยการเซ็ตอัพที่เฉพาะเจาะจงลงไป ถ้าโชคร้ายหน่อยก็เล่นไม่ได้เลย ดังนั้นจึงให้ Proxy Server แบบนี้ได้รับความนิยมลดลง และ Proxy Server แบบ NAT นั้นกำลังได้รับความนิยมเข้ามาแทนและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เว็บแคชชิ่งทำงานอย่างไร

เว็บแคชชิ่งคือการที่เครื่อง Proxy Server ทำการเก็บสำรองข้อมูลของเว็บไซท์ต่างๆ ที่เกิดจากการไปเยี่ยมชมของเครื่องลูกข่ายแต่ละเครื่องไว้ในฮาร์ดดิสก์ซึ่งเรียกว่า แคช (Cache ) จากนั้นหากมีเครื่องลูกข่ายเครื่องใดที่ต้องการเยี่ยมชมเว็บไซท์เหล่านั้นซ้ำอีก เครื่อง Proxy Server ก็จะดึงข้อมูลของเว็บไวท์นั้นจากแคชแล้วส่งกลับไปให้แทน ซึ่งเป็นการลดความถี่ในการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง ในขณะเดียวกันเครื่องลูกข่ายก็จะได้รับข้อมูลเร็วขึ้น เว็บแคชชิ่งจึงเป็นเทคนิคการเพิ่มความเร็วของระบบ ยิ่งถ้าแคชของคุณมีขนานใหญ่เท่าไรแล้วความเร็วของระบบโดยรวมก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเก็บแคชไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่อัพเดทจะทำให้เครื่องลูกข่ายได้รับข้อมูลที่ไม่อัพเดทตามไปด้วย ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวังคือเรื่องของความถี่หรือนโยบายในการอัพเดทข้อมูลในแคชของคุณด้วย โดยทั่วไปตัวซอฟต์แวร์ของ Proxy Server จะมีเมนูให้คุณใช้สำหรับจัดการกับแคชของคุณได้ อย่างไรก็ตามบางเว็บไซท์หรือบางเว็บเพจถูกสร้างขึ้นเฉพาะสำหรับการเรียกดูแต่ละครั้ง เช่น สร้างจากโปรมแกรม CGI หรือ APS ที่อยู่บน Web Server นั้นๆ ซึ่งไม่สามารถที่จะใช้คุณสมบัติของเว็บแคชชิ่งได้ อย่างนี้เว็บแคชชิ่งก็ช่วยในเรื่องของความเร็วไม่ได้

Proxy Server ที่มีความสามารถทางด้านเว็บแคชชิ่งโดยมากจะเป็น Proxy Server แบบเดิม ซึ่งได้แก่ WinGate , WinRoute (ในโหมดของ Proxy Server ) , Microsoft Proxy Server 2.0 ที่รันบน Windows NT Proxy Server 4.0 และโปรแกรม Squid ที่รันบน Linux หรือถ้าเป็น Windows 2000 Server หรือ ISA Server ให้เลือกใช้ได้เช่นกัน

สำหรับ Proxy Server แบบ NAT (โปรแกรม ICS , WinGate , WinRoute ในโหมดของ ENS-Pltgin และอุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ตชนิดต่างๆ) นั้นโดยมากจะไม่มีคุณสมบัติของเว็บแคชชิ่งอยู่ ดังนั้นความเร็วในการดึงข้อมูลจึงอาจจะสู้แบบแรกไม่ได้แต่ก้ไม่ถึงกับช้ามากอะไรนัก จัดว่าจัดว่าอยู่ในระดับที่ใช้งานได้ดีที่เดียว นอกจากนี้หากคุณต้องการคุณสมบัติของเว็บแคชชิ่งจริงๆ แล้วจึงสามารถติดตั้งโปรแกรมที่ช่วยในการทำเว็บแคชชิ่งส่วนตัวที่เครื่อวลูกข่ายได้ ตัวอย่างเช่นโปรแกรม NetSonic ที่เป็น Freeware และสามารถดาวน์โหลดได้ตามเว็บไซท์ทั่วๆไป นอกจากนี้ในตัวโปรแกรมบราวเซอร์เองยังมีการจัดเก็บแคชในตัวเองอยู่ด้วย ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงเว็บไซท์ได้ในระดับหนึ่ง

หลักการทำงานของ Proxy Server แบบ NAL

เวลาที่คุณเล่นอินเตอร์เน็ตที่บ้านโดยผ่านโมเด็ม เครื่องพีซีของคุณจะได้รับหมายเลข IP Address มาหมายเลขหนึ่งซึ่งถูกกำหนดจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของ ISP ที่คุณใช้อยู่โดยอัตโนมัติ IP Address ที่ว่านี้คือ IP Address จริงๆ ที่ใช้กันในอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกดันว่า Public IP Address หรือ True IP Address โดยจะถูกใช้เป็น IP Address ชั่วคราวประจำเครื่องของคุณตลอดเวลาที่คุณใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ หลักจากที่คุณเลิกใช้อินเตอร์เน็ต IP Address นั้นก็จะถูกดึงคืนเพื่อกำหนดให้ผู้ใช้รายอื่นๆ ต่อๆ ไป

IP Address ที่ได้รับมาจาก ISP คุณสามารถเอามาแชร์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอีกที่อยู่ภายในระบบ LAN ได้โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Network Address Translation หรือ NAT ซึ่งมีหลักการคือการแปลงหมายเลข IP Address ของเครื่องลูกข่ายต่างๆ ที่อยู่ภายในแพ็กเก็ต (packet ) ของ TCP-IP ให้กลายเป็น IP Address จริง (ที่ได้รับมาจาก ISP ) ก่อนจะส่งออกอินเตอร์เน็ต และในทำนองกลับกันจะแปลงหมายเลข IP Address ที่อยู่ในแพ็กเก็ตของ TCP-IP ที่ได้รับมาจากอินเตอร์เน็ตให้กลายเป็นหมายเลข IP Address ภายในของเครื่องลูกข่ายเครื่องใดเครื่องหนึ่งก่อนจะส่งต่อให้เครื่องลูกข่ายเครื่องนั้นในระบบ LAN ต่อไป ด้วยหลักการของ NAT นี้เองทำให้เครื่องลูกข่ายในระบบ LAN แต่ละเครื่องสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ เสมือนว่ากำลังเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรงเลยที่เดียว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการของ NAT Router นั่นเอง นอกจากนี้อุปกรณ์ Internet Sharing Device ก็ใช้หลักการของ NAT เช่นเดียวกัน

เทคโนโลยีของ NAT นี้มีชื่อเรียกกันไปหลายอย่าง เช่น เทคนิคการซ่อน IP Address (IP masquerade ) ซึ่งหมายความว่าจะซ่อน IP Address ของเครื่องลูกข่ายไว้ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์จากภายนอกหรือภายในอินเตอร์เน็ตจะไม่สามารถรู้ว่า IP Address ของเครื่องลูกข่ายเป็นหมายเลขใด บางคนก็เรียกเทคนิคของ NAT ว่าการแชร์ IP Address ซึ่งหมายถึงการนำเอา IP Address ที่ได้รับจาก ISP นั้นมาใช้ร่วมกันในบรรดาเครื่องลูกข่าย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “IP Sharer” ที่เราได้ใช้เรียกอุปกรณ์ Internet Sharing Device นั่นเอง สำหรับ IP Address ของเครื่องลูกข่ายที่ใช้ในระบบ LAN มักจะเป็น IP Address กลุ่มพิเศษสำหรับใช้ภายในซึ่งจะต่อออกอินเตอร์เน็ตไม่ได้

ผลพลอยได้ของการใช้ NAT ก็คือช่วยให้การถูกบุกรุกหรือเข้าถึงระบบเครือข่าย (ระบบ LAN ) จากภายนอก (อินเตอร์เน็ต) ทำได้ยากมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์จากภายนอก (อินเตอร์เน็ต) จะไม่สามารถติดต่อกับเครื่องลูกข่ายในระบบ LAN ได้โดยตรง แต่สามารถทำได้โดยติดต่อผ่านเครื่อง Proxy Server เท่านั้น

Proxy Server ที่ใช้เทคโนโลยี NAT นี้กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันและถูกเสนอให้กลายเป็นเทคโนโลยีมาตรฐานอีกด้วย ดังนั้นโปรแกรม Proxy Server รุ่นใหม่ๆจึงใช้เทคนิคนี้กันหมด บางยี่ห้อที่ของเดิมเป็น Proxy Server แบบดั้งเดิมก็เอามาปัดฝุ่นโดยเพิ่มคุณสมบัติของ NAT เข้าไปด้วยทำให้สามารถทำงานได้ทั้ง 2 แบบ

ข้อดีของ Proxy Server แบบ NAT ก็คือคุณไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ ที่เครื่องลูกข่ายเพิ่มเติมเลย และในกรณีของโปรแกรมบราวเซอร์ก็ไม่ต้องไปกำหนดค่า IP Address ของเครื่องแม่ข่ายและหมายเลขพอร์ตที่ใช้เหมือนในกรณีของแบบแรกนอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายทุกประเภทได้ทันที่ นับตั้งแต่ Windows , MacOS หรือ Linux อย่างไรก็ตาม Proxy Server แบบ NAT นี้ไม่ได้ถูกออกมาให้ทำงานกับเว็บแคชชิ่ง ดังนั้นคุณจะพบว่า Proxy Server หลายๆ ตัวจะไม่มีคุณสมบัติของเว็บแคชชิ่งอยู่ด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ICS (Internet Connection Sharing) ของ Windows หรืออุปกรณ์ประเภท Internet Sharing Device เป็นต้น อย่างไรก็ตามโปรแกรม Proxy Server แบบ NAT ที่สามารถทำงานกับเว็บแคชชิ่งได้ในปัจจุบันก็มีออกมาแล้ว เช่นโปรแกรม WinProxy 3.0 ของบริษัท Ositis ( www.winproxy.com) เป็นต้น

สำหรับเนื้อหาต่อไปนี้จะว่าด้วยเรื่องของการแชร์อินเตอร์เน็ตโดยอาศัยโปรแกรม ICS (Internet Connection Sharing) ที่มีอยู่แล้วในตัวของ Windows Me หรือ Windows รุ่นใหม่ๆ อย่าง Windows 2000 และ Windows 98 Se เป็นต้น

เหตุผลที่เลือกโปรแกรม ICS มาเสนอนั้นก็ไม่ได้เป็นเพราะดีกว่าหรือเร็วกว่าโปรแกรมอื่นหรือวิธีอื่นๆ แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะคุณไม่ต้องไปขวนขวายเอาจากที่ไหน สามารถติดตั้งเพิ่มจากแผ่น CD- ROM ของ Windows ได้เลย วิธีการเซ็ตอัพและใช้งานก็ไม่ยากอะไรนัก แต่ถ้าคุณใช้แล้วไม่ถูกใจอยากจะเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมอื่นๆ ก็มีให้เลือกอยู่อีกหลายตัว เช่น โปรแกรม WinRoute ของบริษัท Tiny Software ( www.winrute.com) , โปรแกรม WinGate ของบริษัท Qbik ( www.wingate.com) , โปรแกรม Win Proxy ของบริษัท Ositis ( www.winproxy.com) และยังมีอีกมากมายหลายตัว (สามารถหาข้อมูลตางเว็บไซท์ต่างๆได้)

นอกจากนี้คุณยังสามารถซื้ออุปกรณ์สำหรับการแชร์อินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะที่เรียกว่า Internet Sharing Device หรือ IP Sharing Device (หรือ IP Sharer , Internet Gateway , Analog Router หรืออื่นๆ อีกหลายซื้อแล้วแต่ทางผู้ผลิตจะตั้ง) อุปกรณ์ประเภทนี้ในปัจจุบันราคาไม่แพงนัก มีตั้งแต่ตัวละประมาณไม่ถึงหมื่นบาทจนกระทั่ง 2-3 หมื่นบาทขึ้นอยู่กับยี่ห้อและคุณสมบัติต่างๆในตัว การติดตั้งและเซ็ตอัพทำได้ง่าย อุปกรณ์บางรุ่นจะมีคุณสมบัติเป็น Hub หรือ Switch ได้ในตัวทำให้คุไม่ต้องเสียเงินซื้อ Hub / Switch มาเพิ่ม นอกจากนี้บางรุ่นก็ยังมีพอร์ตขนานเพื่อสำหรับต่อกับพรินเตอร์เพื่อใช้แชร์ได้ด้วย

อุปกรณ์ Internet Sharing Device จะมีปลายด้านหนึ่งต่อกับระบบ LAN ภายในบ้าน และปลายอีกด้านหนึ่งจะใช้ต่อกับโมเด็มแบบอนาล็อก หรืออาจจะต่อกับ Cable/DSL Modem ด้วยก็ได้ ตัวอย่างเช่นอุปกรณ์ Internet Sharing Device ของบริษัท SMC รุ่น Barricade 4-Port 10/100Mbps Broadband Router โมเดล SMC7004BR ซึ่งที่ด้านหน้าจะมีพอร์ตสำหรับต่อ LAN ที่เป็น Switch แบบ 10/100 จำนวน 4 พอร์ต ส่วนที่ด้านหลังนอกจากจะมีพอร์ตต่อโมเด็มแบบอนาล็อกยังมีพอร์ตสำหรับ Cable/DSL Modem แถมยังมีพอร์ตต่อพรินเตอร์ไว้ให้แชร์อีกด้วย ปัจจุบันจะหาซื้อ Internet Sharing Device ที่มีพอร์ตต่อโมเด็มแบบอนาล็อกอย่างเดียวเห็นทีจะอยากเต็มที เพราะว่าทางผู้ผลิตต่างหันไปผลิตแต่รุ่นที่เป็น Cable/DSL Modem กันหมดแล้ว เนื่องจากความเร็วสูงกว่า ตัวอย่างเช่น Internet Sharing Device ของ LinkSys ที่ปัจจุบันมีขายแต่รุ่นที่ต่อกับ Cable/DSL Modem อย่างเดียว (ทาง LinkSys เรียกว่า Cable/DSL Router )

โมเด็ม (Modem)

โมเด็มที่นี้หมายถึงโมเด็มแบบอนาล็อกเท่านั้น (ไม่เกี่ยวข้องกับ ADSL/ Cable Modem ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้คู่กับสายโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อกับ ISP เรามักเรียกการเชื่อมในลักษณะนี้ว่า Dial-Up คุณควรเลือกที่เป็นโมเด็ม 56 Kbps โดยใช้มาตรฐาน V.90 ซึ่งในปัจจุบันร้านค้าส่วนใหญ่จะขายแต่ V.90 ทั้งนั้น โมเด็มมีหลายแบบให้เลือกคือ โมเด็มแบบภายนอก (Externel modem ) ซึ่งต่อผ่านพอร์ตอนุกรมหรือพอร์ต USB และแบบภานใน (Internel ) ซึ่งเป็นการ์ดเสียบเข้ากับสล็อตแบบ PCI , ISA หรือแบบ PCMCIA ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค

นั้นต้องเป็นชุมสายใหม่ด้วย ถ้าเป็นชุมสายเก่าๆอย่างเก่งก็ได้แค่ 33.6 Kbps ถึงแม้ว่าโมเด็มคุณจะเป็น 56 Kbps ก็ตามแต่ถ้าคุณใช้ผ่าน PABX คุณจะได้ความเร็วสูงสุดเพียง 33.6 Kbps เท่านั้น ส่วนการส่งกลับไปยัง ISP จะได้ความเร็วจำกัดที่ประมาณ 33.6 Kbps เท่านั้น ไม่ว่าจะผ่าน PABX หรือไม่ก็ตาม

การเลือกซื้อโมเด็มก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์ที่คุณใช้แชร์อินเตอร์เน็ตด้วย ถ้าคุณใช้ Internet Sharing Device โดยทั่วไปคุณก็ต้องใช้โมเด็มแบบภายนอกที่เป็นหัวต่อแบบ DB-9 หรือ DB -25 ในกรณีที่คุณใช้เครื่องพีซีมาทำเป็น Proxy Server คุณก็มีทางเลือก 3 ทางคือจะใช้โมเด็มแบบภายใน ภายนอก หรือแบบ USB

การติดตั้ง Dial-Up Adapter ในเครื่องแม่ข่าย

ก่อนที่จะติดตั้ง Dial-Up Adapter คุณจะต้องตรวจสอบการติดตั้งส่วนประกอบของโปรแกรมที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Dial-Up Adapter เสียก่อน โดยดับเบิลคลิกไอคอน Network ใน Control Panel แล้วให้สังเกตในวินโดว์ Network ว่ามี Dial-Up Adapter และ TCP-IP -> Dial-Up Adapter อยู่แล้วหรือไม่

ซึ่งถ้ามีก็ให้ข้ามไปทำขั้นตอนการสร้าง Connection สำหรับเชื่อมต่อ ISP เลย แต่ถ้ายังไม่มีก็ต้องติดตั้งเพิ่มดังนี้

1. ดับเบิลคลิกไอคอน Add/Remove Programs ใน Control Panel แล้วคลิกแท็บ Windows Setup ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Add/Remove Programs Properties

2. คลิกเลือก Communications แล้วคลิก Details

3. คลิก Dial-Up Networking แล้วคลิก OK

4. กลับมาที่ไดล็อกบ็อกซ์เดิม แล้วคลิกที่ Apply จากนั้นเครื่องจะติดตั้ง Dial-Up Adapter ให้

5. ตรวจสอบการติดตั้งอีกครั้งได้โดยการดับเบิลคลิกไอคอน Network ใน Control Panel



สร้าง Connection สำหรับเชื่อมต่อ ISP

หลังจากติดตั้งโมเด็มและ Dial-Up Adapter ในเครื่องแม่ข่ายเรียบร้อยแล้วต่อไปคุณจะต้องสร้าง Connection สำหรับการเชื่อมต่อกับ ISP ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. คลิกปุ่ม Start > Settiongs > Dial-Up Networking แล้วดับเบิลคลิกไอคอน Make New Connection

2. กรอกชื่อที่แสดงถึงเครื่องปลายทางที่เราจะต่อโมเด็มไป ลงในช่อง Typea name for the computer you are dialing เช่น ตั้งตามชื่อ ISP ที่ใช้อยู่ แล้วเลือกโมเด็มที่จะใช้สำหรับ Connection ที่เรากำลังจะสร้างขึ้นจากรายการในช่องSeledt a devive จากนั้นก็คลิก Next

3. กรอกข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของโมเด็ม แล้วคลิก Next



สำหรับรายละเอียดต่างๆที่ต้องกรอกมีดังนี้

ช่อง Telephone number

สำหรับกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของโมเด็มปลายทาง ทั้งนี้คุณควรตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์นั้นๆด้วยว่าสามารถสนับสนุนความเร็วได้ถึงเท่าไร และในกรณีที่คุณไม่ได้ใช้โทรศัพท์สายตรง อย่างเช่นในกรณีนี้ต้องตัด 9 ก่อนก็ให้คุณกรอก “ 9, XXXXXXX” โดยที่ XXXXXXX ก็คือหมายเลขโทรศัพท์ของโมเด็มปลายทาง (ไม่เกิน 7 ตัวเท่านั้น เพราะรหัสจังหวัดจะไปอยู่ที่ช่อง Area Code แทน หรือจะใส่ไปให้ครบทั้ง 9 ตัว คือรวม 0 ข้างหน้าก็ได้ แต่ในช่อง Area Code ก็ห้ามใส่อะไรอีก)

ช่อง Area Code

สำหรับกรอกรหัสทางไกลชองแต่ละจังหวัด เช่น รหัสกรุงเทพมหานคร คือ 02 (ถ้าคุณกรอกเบอร์ครบ 9 ตัว ในช่อง Telephone number ไปแล้ว ก็ห้ามใส่เลขใดๆในช่องนี้อีก)

ช่อง Country or region code

สำหรับเลือกรหัสประเทศ ให้เลือกเป็น Thailand

4. คลิก Finish

การปรับแต่ง Connection

ต่อไปคุณจะต้องปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆของ Connection ที่สร้างขึ้นได้ดังนี้

1. คลิกขวาที่ไอคอน Connection ที่สร้างขึ้นแล้วคลิก Properties

2. ในแท็บ General ถ้าคุณไม่ต้องการใช้รหัสทางไกลก็สามารถยกเลิกได้โดยคลิกให้เครื่องหมายถูกในช่อง Use area code and Dialing Properties หายไป

3. คลิกแท็บ Networking ในส่วนของ Allowed Network Protocols ให้คลิกเลือกเฉพาะ TCP/IP จากนั้นให้คลิกปุ่ม TCP/IP Settings

4. ปกติค่าดีฟอลต์ที่ Windows กำหนดไว้ ซึ่งคุณจากไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เว้นเสียแต่ว่า ISP บางแห่งอาจจะกำหนดให้คุณระบุ DNS Server ด้วย โดยคลิกที่ Specify name server addresses แล้วกรอกค่าตามที่ ISP กำหนดมาให้ แล้วคลิก OK

5. ทดสอบการทำงานโดยดับเบิลคลิกไอคอนของ Connection ที่สร้างขึ้น จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Connect To ขึ้นมาให้กรอกชื่อแล้ว password ของ Internet Account ในช่อง User name และ Password ตามลำดับแล้วคลิก Connect

หากคุณต้องการให้ Windows จำ password นี้ไว้สำหรับใช้งานครั้งต่อไป (โดยที่คุณไม่ต้องกรอก password ใหม่อีกครั้ง) ก็ทำได้โดยให้คลิกที่ Save password สำหรับช่อง Connect automatically จะต้องใช้คู่กับ Save password ซึ่งหมายความว่าถ้าคุณคลิกที่ไอคอนของ Connection นี้ใน Dial-Up Networking ในครั้งต่อไป Windows จะจัดแจงต่อโมเด็มให้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องรอให้คุณคลิกที่ปุ่ม Connect อีกครั้งหนึ่ง

6. Windows จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ในระหว่างการหมุนโมเด็มขึ้นมา

7. เมื่อต่อโมเด็มได้แล้วจะมีไอคอน ปรากฏอยู่ที่มุมด้านขวาของทาสก์บาร์ เมื่อดับเบิลคลิกที่ไอคอนนั้น ก็จะมีไดอะล็อกบ็อกซ์ที่แสดงข้อมูลต่างๆของ Connection ปรากฏขึ้น

การใช้โมเด็ม 2 ตัวช่วยกันทำงาน (PPP Multilink)

ใน Windows ยังมีคุณสมบัติที่เรียกว่า PPP Multilink ซึ่งหมายถึงการใช้โมเด็มหลายๆตัว (โดยทั่วไปจะใช้ 2 ตัว) ช่วยกันรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Internet Account เพียงชุดเดียว (แต่โดนคิดค่าชั่วโม 2 เท่า! ) การที่คุณจะใช้ PPP Multilink ได้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับ ISP ที่คุณเลือกใช้ด้วยว่าเขาสนับสนุนหรือไม่ ถ้าจะให้ดีก็ควรสอบถามจากฝ่าย Technical Support ของ ISP นั้นๆ ก่อนดีกว่าครับ นอกจากนี้คุณยังต้องมีคู่สายโทรศัพท์ 2 หมายเลขสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็มแต่ละตัวด้วย

สำหรับขั้นตอนการเช็ตอัพมีดังนี้ (สมมติว่าผมใช้โมเด็ม 2 ตัว)

1. ติดตั้งโมเด็มทั้ง 2 ตัวในเครื่องแม่ข่าย คุณจะใช้โมเด็มแบบภายในผสมกับภายนอกก็ได้ จากนั้นให้เชื่อมสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มให้เรียบร้อยทั้ง 2 ตัว

2. สร้าง Connection โดยให้ไปใช้โมเด็มตัวที่ 1 ตามขั้นตอนที่อธิบายไว้แล้ว หรือถ้าคุณมี Connection ที่สร้างไว้แล้วก่อนหน้านี้ก็ใช้ได้เลย

3. คลิกขวาที่ไอคอนของ Connection ที่ต้องการ แล้วคลิก Properties

4. คลิกแท็บ Multilink และคลิกเลือก Use additional devices จากนั้นคลิก Add

5. เลือกโมเด็มตัวที่ 2 (ที่ไม่ใช่โมเด็มตัวแรก) แล้วใส่เบอร์โทรศัพท์สำหรับโมเด็มของ ISP (ต้องเป็นเบอร์โทรศัพท์ที่สนับสนุน PPP Multilink ด้วย) ในช่อง Device name และ Phone number ตามลำดับ แล้วคลิก OK

6. กลับมาที่แท็บ Multilink คุณก็จะเห็นชื่อโมเด็มตัวที่เลือกไว้ปรากฏอยู่ ให้คลิก OK ผ่านไป

7. ทดสอบการทำงานโดยดับเบิลคลิกที่ไอคอนของ Connection ให้สังเกตว่า Windows จะหมุนโมเด็มตัวแรกให้ก่อนแล้วจึงจะหมุนโมเด็มตัวที่สอง และถ้าคุณลองดับเบิลคลิกที่ไอคอน

บนทาสก์บาร์เพื่อดูสถานะของ Connection ก็จะเห็นว่าโมเด็ม 2 ตัวกำลังทำงานควบคู่กันอยู่ ถ้าต้องการดูรายละเอียดเพิ่มก็คลิกที่ปุ่ม Details >>

การติดตั้งโปรแกรม ICS บนเครื่องแม่ข่าย

คราวนี้ก็ถึงเวลาสำหรับการเซ็พอัพคุณสมบัติของ Internet Connection Sharing หรือ ICS ในเครื่องแม่ข่ายหรือ Proxy Server นั่นเอง อย่าลืมว่าในตัวอย่างนี้ผมได้ยกเอาคุณสมบัติของ ICS มาใช้เนื่องจากเป็นความสามารถที่มีอยู่ในตัวของ Windows เองอยู่แล้วโดยคุณไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินซื้ออะไรมาเพิ่มอีก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือความต้องการของคุณที่อาจจะเลือกใช้ Internet Sharing Device แทนก็ได้ เนื่องจากใช้งานง่ายและไม่ต้องอาศัยความรู้มากนัก หรือคุณอาจจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำหรับทำ Proxy Server ตัวอื่นๆ เช่น WinGate หรือ WinRoute เนื่องจากต้องการความสามารถทางด้านเว็บแคชชิ่งก็ได้

Internet Connection Sharing (ICS) คืออะไร

ICS คือคุณสมบัติอย่างหนึ่งในตัว Windows เองที่คุณสามารถนำมาใช้ในการแชร์อินเตอร์เน็ตในบ้านหรือสำนักงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อะไรเพิ่มอีกเลย Windows รุ่นที่มีคุณสมบัติของ ICS อยู่ในตัวนั้นจะต้องเป็น Windows รุ่นใหม่ๆ ได้แก่ Windows 98 SE (Second Edition), Windows ME (Millennium Edition) และ Windows 2000 (ทั้ง Professional แ ละ Server ) และรวมถึง Windows XP ( ทั้ง Professional แ ละ Home Edition)

ICS จัดเป็น Proxy Server ประเภท NAT Router เช่นเดียวกับโปรแกรม WinRoute ในโหมดของ NAT หรือโปรแกรม WinGate ในโหมดของ NAT เป็นต้น สำหรับผู้ที่ใช้ และ Windows 2000 Server นั้นคุณยังมีซอฟต์แวร์อีกตัวหนึ่งที่ใช้แชร์อินเตอร์เน็ตได้ที่เรียกว่า Internet Security & Acceleration Server 2000 หรือ ISA Server ซึ่งทางไมโครซอฟท์ได้ทำออกมาเพื่อทดแทนกับโปรแกรม Microsoft Proxy Server 2.0 ที่ใช้กับ Windows NT Server 4.0 แต่ถ้าคุณคิดจะนำ ISA Server มาใช้แชร์อินเตอร์เน็ตอย่างเดียวผมว่าไม่คุ้มค่า เนื่องจาก ISA Server มาใช่ของฟรี อีกทั้งในตัวของ ISA Server ยังมีคุณสมบัติอื่นๆอีกเพียบโดยเฉพาะทางด้านของระบบป้องกันการบุกรุกเครือข่าย (Firewall ) ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบเลยที่เดียว ดังนั้นจึงเหมาะสมสำหรับใช้งานภายนอกในองค์กรมากกว่า รายละเอียดเพิ่มเติมของ ISA Server สามารถหาได้จากเว็บไซท์ของบริษัทไมโครซอฟท์

ติดตั้งคุณสมบัติของ ICS เพิ่ม

เนื่องจากคุณสมบัติของ ICS ไม่ได้ถูกติดตั้งไว้ในขั้นตอนปกติของการเซ็ตอัพ Windows ดังนั้นคุณจึงต้องลงมือติดตั้งเพิ่มเติมเอง โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ดับเบิลคลิกไอคอน Add/Remove Programs ใน Control Panel แล้วคลิกแท็บ Windows Setup

2. คลิกเลือก Communications แล้วคลิก Details

3. คลิก Internet Connection Sharing แล้วคลิก OK

4. คลิก Apply เพื่อเริ่มการติดตั้ง

5. Windows จะรันโปรแกรม Home Up Networking Wizard ให้โดยอัตโนมัติ ให้คลิก Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป

6. คลิก Yes, this computer… เลือก A direct connection to my ISP using… แล้วเลือก Dial-Up Networking ที่สร้างไว้ จากนั้นคลิก Next

7. คลิก Yes เพื่อบอกว่าต้องการให้เครื่องพีซีเครื่องอื่นๆมาแชร์อินเตอร์เน็ตได้ จากนั้นเลือกการ์ด LAN ที่ติดต่อกับเครือข่าย แล้วคลิก Next

8. Windows จะถามว่าต้องการที่จะต่อโมเด็มกับ ISP โดยอัตโนมัติหรือไม่เมื่อมีผู้ต้องการใช้งาน ถ้าต้องการให้คลิก Yes แล้วใส่ชื่อและ password และ Internet Account ที่ใช้ จากนั้นให้คลิก Next

9. Windows จะถามว่าจะให้สร้างแผ่นดิสก์สำหรับเซ็ตอัพที่เครื่องลูกข่ายด้วยหรือไม่ ถ้าต้องการให้คลิก Yes (คุณต้องเตรียมแผ่นดิสก์ไว้ด้วย) หรือคุณอาจจะคลิก No ไปก่อนแล้วค่อยกลับมาสร้างเองทีหลังก็ได้ จากนั้นให้คลิก Next

10. คลิก Finish และคลิก Yes เพื่อ Restart Windows

11. หลังจาก Restart Windows ใหม่แล้ว จะมีข้อความบอกว่าได้ติดตั้ง ICS ลงในเครื่องเรียบร้อยแล้ว ให้คลิก OK

12. สังเกตที่มุมด้านขวาของทาสก์บาร์จะมีไอคอนรูปคอมพิวเตอร์ปรากฏขึ้น ถ้าคุณต้องการแก้ไขคุณสมบัติบางอย่างก็สามารถคลิกขวาที่ไอคอนนี้ แล้วเลือก Option หรือเลือก Disable Internet Connection Sharing เมื่อไม่ต้องการใช้งาน ซึ่งไอคอนจะเปลี่ยนเป็นรูปรูปคอมพิวเตอร์มีเครื่องหมายผิด

13. ทดสอบการทำงานของ ICS โดยเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ที่เครื่องลูกข่าย แล้วสังเกตว่าเครื่องแม่ข่ายจะหมุนโมเด็มเพื่อต่อกับ ISP ให้โดยอัตโนมัติ หลังจากโมเด็มต่อแล้ว คุณจะเห็นไอคอนรูปคอมพิวเตอร์สีดำคู่หนึ่งอยู่ที่มุมด้านขวาของทาสก์บาร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังเชื่อมต่ออยู่กับ ISP

DNS Proxy (Forwarder) คืออะไร

โดยทั่วไปเวลาที่คุณเล่นอินเตอร์เน็ตโดยผ่านโมเด็ม ( Dial-Up ) ทาง ISP จะกำหนดค่า IP Address ที่เป็น IP จริงๆ (True IP ) ชั่วคราวให้ใช้ พร้อมกับกำหนดค่า IP Address ของ DNS Server ให้ด้วยโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสมัยก่อนที่เราต้องเป็นผู้ใส่ IP Address ของ DNS Server เข้าไปเองตอนเซ็ตอัพ

คุณสามารถตรวจสอบค่า IP Address ของ DNS Server ที่ทาง ISP กำหนดให้ได้จากโปรแกรม winipcfg (โดยคลิกปุ่ม Start > Run แล้วกรอกคำสั่ง winipcfg จากนั้นเลือก PPP Adapter แล้วคลิกปุ่ม More Info ตามลำดับ)

สาเหตุที่คุณต้องทราบ IP Address ของ DNS Server ก็เพราะว่า DNS Server จะทำหน้าที่ในการแปลงชื่อเว็บไซท์หรือ URL ต่างๆที่คุณคีย์หรือคลิกตามหน้าเว็บเพจต่างๆให้กลายเป็น IP Address ก่อน จากนั้นจึงจะสามารถติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือเว็บไซท์ปลายทางได้ ตัวอย่างเช่นหากคุณต้องการจะเข้าเว็บไซท์ของบริษัท Provision แล้ว คุณก็ต้องป้อน URL เป็น www.Provision.co.th ในโปรแกรมบราวเซอร์ก่อนจากนั้นโปรแกรมบราวเซอร์ก็จะไปถาม DNS Server ว่า www.Provision.co.th คือ IP Address อะไร ถ้าในฐานข้อมูลของ DNS Server มีข้อมูลอยู่ก็จะตอบกลับมาว่า IP Address ของ www.Provision.co.th คือ 202.56.159.90 และเมื่อเครื่องพีซีของคุณทราบ IP Address แล้วก็จะสามารถติดต่อกับเว็บไซท์ของ Provision ได้ตามปกติ

ที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นการใช้งานผ่านโมเด็มหรือ Dial-Up โดยตรง แต่ในกรณีของการใช้งานผ่าน Proxy Server เครื่องลูกข่ายในระบบ LAN จะไม่ได้ติดต่อกับระบบของ ISP โดยตรงแต่จะเป็นเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวแชร์อินเตอร์เน็ตให้ ดังนั้นหากจะให้เครื่องลูกข่ายสามารถติดต่อกับเว็บไซท์ภายนอกได้แล้ว ก็ต้องให้เครื่องลูกข่ายสามารถติดต่อกับ DNS Server ได้ด้วย วิธีการติดต่อก็คือการอาศัยเครื่องแม่ข่ายหรือ Proxy Server เป็นทางผ่านให้ แต่เครื่องแม่ข่ายจะต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า DNS Server หรือ DNS Forwarder เสียก่อน ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำ Proxy Server ทั่วๆไปอย่าง ICS, WinRout หรือ WinGate จะมีความสามารถนี้อยู่แล้ว

ในกรณีนี้คุณจะต้องบอกเครื่องลูกข่ายทุกเครื่องให้ทราบว่า IP Address ของ DNS Server คือ IP Address ของเครื่องแม่ข่าย (ไม่ใช่ IP Address ของ DNS Server จริงๆเหมือนในกรณีของ Dial-Up ) วิธีการบอกเครื่องลูกข่ายสามารถทำได้ดังนี้

· ถ้าคุณใช้วิธีการกำหนดค่า IP Address แบบค่าคงที่ (Static ) แล้วคุณจะต้องไปกำหนดค่า DNS Server ในวินโดว์ TCP/IP Properties ที่เครื่องลูกข่าย

· ถ้าใช้วิธีการกำหนดค่าแบบรับค่าจาก DHCP Server ที่เครื่องลูกข่าย ก็ให้เลือก Disable DNS แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น คุณจะต้องไป Enable ที่เครื่องแม่ข่ายให้ทำตัวเป็น DNS Proxy ด้วยนอกจากนี้ก็ต้องไปเซ็ตอัพที่เครื่อง DHCP Server (ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นเครื่องเดียวกับเครื่อง Proxy Server ) ให้จ่ายค่า DNS Server เป็น IP Address ของเครื่องแม่ข่ายด้วย แต่ในกรณีของ ICS นี้ คุณไม่จำเป็นต้องทำตามที่บอกไว้ข้างต้น เนื่องจาก ICS ได้รับการปรับแต่งมาให้เรียบร้อยแล้วโดยอัตโนมัติในขั้นตอนการติดตั้งนั่นเอง

การถอดคุณสมบัติของ ICS ออกจากเครื่องแม่ข่าย

ถ้าคุณไม่อยากจะใช้ ICS แล้วอันเนื่องจากมีโปรแกรมตัวใหม่ที่ดีกว่า หรือต้องการเปลี่ยนไปใช้ Interne Sharing Device แล้วคุณจะต้องถอดเอาคุณสมบัติของ ICS ออกก่อน เนื่องจากว่าเครื่องแม่ข่ายที่ติดตั้ง ICS ไว้แล้วจะมีคุณสมบัติเป็น DHCP Server อยู่ ดังนั้นอาจทำให้การจ่าย IP Address ของ DHCP Server ตัวใหม่ในโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่คุณจะใช้มีปัญหาได้ วิธีการถอดออกก็ไม่มีอะไรมากคือ

1. ดับเบิลคลิกไอคอน Add/Remove Programs ใน Control Panel แล้วคลิกแท็บ Windows Setup

2. คลิกเลือก Communications แล้วคลิก Details

3. คลิกยกเลิกเครื่องหมายถูกหน้า Internet Connection Sharing ออก แล้วคลิก OK

4. กลับไปคลิก OK อีกครั้งในแท็บ Communications จากนั้นให้ Restart Windows ใหม่



การปรับแต่งคุณสมบัติของ ICS

ทางไมโครซอฟท์ไม่ได้ให้โปรแกรมสำหรับปรับแต่ง ICS ใดๆมาเลยผมเดาว่าคงต้องการที่จะซ่อนความสลับซับซ้อนไว้ เพื่อให้ผู้ใช้มองดูแล้วเหมือนกับใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตามคุณสามารถที่จะปรับแต่งคุณสมบัติบางประการของ ICS ได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำ เว้นเสียแต่ว่ามันจำเป็นจริงๆ เนื่องจากต้องอาศัยการแก้ไขข้อมูลใน Registry ซึ่งต้องทำด้วยความระมัดระวัง ตัวอย่างเช่น คุณสามารถที่จะเปลี่ยน IP Address ของเครื่องแม่ข่ายและช่วง IP Address ที่ใช้สำหรับจ่ายให้เครื่องลูกข่ายได้เป็นต้น

โปรแกรมที่ใช้แก้ไขข้อมูลใน Registry ที่รู้จักกันดีคือโปรแกรม Regedit ที่ติดมากับตัว Windows อยู่แล้ว ไมโครซอฟท์ได้เตือนว่าการแก้ไขข้อมูลใน Registry ด้วยโปรแกรม Regedit นี้จะต้องทำด้วยความระมัดระวังพอสมควร แล้วผู้ที่แก้ไขควรจะรู้ว่าจะต้องแก้ไขที่จุดไหนและอะไรบ้าง เพราะหากคุณแก้ไขผิดพลาดไปก็อาจมีผลให้ระบบไม่ทำงานหรือทำงานผิดปกติไปก็ได้ก็

สำหรับการเรียกใช้โปรแกรม Regedit เพื่อแก้ไขข้อมูลใน Registry สามารถทำได้โดยคลิกที่ Start > Run แล้วกรอกชื่อโปรแกรม Regedit ในช่อง Open แล้วคลิก OK

สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับโปรแกรม Regedit หรือ Registry Editor นั้นก็ไม่ต้องตกใจครับ เพราะว่าหน้าตาจะคล้ายๆกับ Windows Explorer คือจะมีลิสต์รายการต่างๆเรียงกันเป็นหมวดหมู่ที่เรียกว่า “ คีย์” (Key) หรือถ้าเป็นรายการที่อยู่ในระดับย่อยภายใต้คีย์ตัวใดๆจะเรียกว่า “ สับคีย์” (Subkey ) คุณเพียงแต่ดับเบิลคลิกที่คีย์หรือสับคีย์เหล่านั้นไปเรื่อยๆ แล้วช่องทางขวามือก็จะแสดงชื่อแล้วค่าของพารามิเตอร์ที่อยู่ภายใต้สับคีย์ตัวที่คุณคลิกเลือกไว้ทางซ้ายมือนั่นเอง

การเปลี่ยน